Powered By Blogger

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจ


ความเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจไปสู่รายงานทางการเงิน
          ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบไปด้วยกิจกรรมทางธุรกิจที่สามารถแบ่งได้เป็นกิจกรรมต่างๆ มากมายให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การจัดหาเงิน และการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ อาทิเช่น การกำหนดกลยุทธ์ในการมุ่งเน้นเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน (แข่งขันในการทำต้นทุนให้ต่ำที่สุดหรือกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างในธุรกิจ เป็นต้น
          การที่จะสามารถทราบได้ว่า กลยุทธ์ต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไป บรรลุตามวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์กรหรือไม่  ย่อมจำเป็นจะต้องใช้กระบวนการทางบัญชี เพื่อดำเนินการในการจัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการเงินและบัญชี ที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมขององค์กร จึงนำไปสู่ความจำเป็นในการที่จะต้องกำหนดกลยุทธ์ทางบัญชี  ได้แก่ การเลือกนโยบายบัญชี  การเลือกการประมาณค่า  และการเลือกการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ  พร้อมๆ ไปกับการจัดการระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพ เพื่อวัดค่าและรายงานผลการเงินที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร และนำไปสู่รายงานทางการเงิน ที่มีข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารองค์กรต่อไป  ทั้งนี้ยังมีสภาพแวดล้อมทางบัญชี ที่ทางนักบัญชีจะต้องมีการติดตามและเพิ่มเติมความรู้ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของมาตรฐานการบัญชี  ระบบภาษี  และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางบัญชี เป็นต้น 

การวิเคราะห์และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจทางธุรกิจ
·       เป้าหมายของธุรกิจ
·       ต้องสร้างมูลค่าสูงสุดแก่องค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในด้านของผลตอบแทนต่างๆ ที่จำเป็น
·       เมื่อเริ่มต้นกิจการหรือขยายกิจการ
·       ต้องคำนึงถึงการใช้เงินทุน (ลงทุน) ว่าจะใช้เงินทุนเท่าไร ด้วยการสำรวจถึงเงินลงทุนทั้งสิ้นที่จำเป็นต้องใช้ และเงินทุนหมุนเวียนภายในด้วย
·       จะหาเงินจากที่ไหน  (จัดหาเงินใช้เงินทุน หรือเงินกู้ ต้องคำนึงถึงต้นทุนทางการเงินด้วย ในกรณีที่จะทำการกู้ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนทางการเงินที่ต่ำที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ
·       เมื่อดำเนินการ
·       จะขายเท่าใด  ใช้กลยุทธ์ทางด้านการบริหารจัดการมาเป็นตัวช่วย ประกอบกับการดูแลต้นทุนต่างๆ ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
·       จะจัดการกับสินทรัพย์ หนี้สิน อันได้แก่ เงินสด ลูกหนี้ สินค้า เจ้าหนี้  อย่างไร (ต้องอาศัยกลยุทธ์ทางธุรกิจ ร่วมกันกับ กลยุทธ์ทางบัญชี ในการวางแผนบริหารจัดการด้วยความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน)
·       ทุกกิจกรรมธุรกิจต้องวิเคราะห์และใช้ข้อมูลการเงินในการตัดสินใจ
·       ข้อมูลการเงินมาจากการจัดทำบัญชี แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการบริหารสู่กำไรต่อไป

ความหมายของการบัญชี
          การบัญชี (Accounting)  คือ  กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจของธุรกิจ นำมาแยกแยะ จัดหมวดหมู่ บันทึก และจัดทำการรายงานผลของข้อมูลทางเศรษฐกิจนั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูล

ลักษณะและวัตถุประสงค์ของการบัญชี
          การบัญชีเป็นกิจกรรมในการจัดทำข้อมูลในรูปของรายงานทางการเงิน เรียกว่า งบการเงิน เพื่อการตัดสินใจในธุรกิจ มีลักษณะที่สำคัญ คือ
·       เป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับดำเนินธุรกิจ เพื่อประเมินการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างถูกต้อง
·       เป็นการเสนอข้อมูลทางการเงิน นำไปสู่การหาข้อมูลเชิงคุณภาพ
·       เป็นการเสนอข้อมูลในอดีต นำไปสู่การตัดสินใจในอนาคต

รูปแบบข้อมูลการบัญชี
          การบัญชีมีการจัดทำรายงานแยกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้คือ
1.       การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)  เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อเสนอรายงานทางการเงินต่อบุคคลภายในและภายนอก ที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน  การจัดทำเป็นไปตามรูปแบบตามหลักการบัญชีที่ยอมรับทั่วไป ปัจจุบันเป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standard : IFRS)
2.      การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)  เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อเสนอรายงานและข้อมูลต่อผู้บริหารภายในองค์กร  สำหรับการวางแผน ควบคุมและตัดสินใจให้บรรลุตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่วางไว้ มุ่งเน้นการเสนอข้อมูลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  เป็นข้อมูลที่ยืดหยุ่นทันเวลาที่ต้องการใช้  รูปแบบการจัดทำตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล (ผู้บริหาร)



วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management)
          เกี่ยวข้องกับการบริหารปัจจัยหลัก 3 สิ่ง ดังนี้คือ
1.       การสรรหาบุคลากร (Recruitment)
2.      การดูแลรักษาบุคลากร (Retention)
3.      การพัฒนาบุคลากร (Development)

การสรรหาบุคลากร (Recruitment)
          การสรรหาบุคลากร มีกลยุทธ์ดังนี้
·       มีแผนกำลังคน (Manpower Planning) ที่ชัดเจน  โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การคาดการณ์จำนวนกำลังคนที่ต้องการ  ความต้องการด้านกำลังคนของหน่วยงานนั้นๆ ทั้งด้านคุณภาพและจำนวนในอนาคต  ที่จะสนับสนุนให้แผนธุรกิจประสบความสำเร็จได้สูงสุด
·       มีคุณสมบัติของคนที่ต้องการหา (Qualification) เข้ามาในตำแหน่งต่างๆ ชัดเจน
·       รู้จุดขายของบริษัท (Strength) ชัดเจน
·       รู้แหล่งผู้สมัครงาน และสามารถเข้าถึงก่อนบริษัทอื่น
·       มีวิธีคัดเลือก สัมภาษณ์ผู้สมัคร อย่างมืออาชีพ
·       จ้างงานน่าสนใจ
·       ให้ความสำคัญกับพนักงานใหม่
·       เข้มข้นในการทดลองงาน
 การดูแลรักษาบุคลากร (Retention)
          การดูแลรักษาบุคลากร มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นที่สำคัญต่อการทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ก็คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
          คือ  การที่ผู้บริหารประเมินว่าคนทำงานได้ผลเท่าที่ควร จะทำได้ด้อยกว่าหรือดีกว่าที่คาดหมาย และคุ้มค่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นๆ หรือไม่

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

·       พิจารณาขึ้นเงินเดือน หรือ ให้บำเหน็จรางวัล
·       เลื่อนตำแหน่ง หรือโยกย้ายงาน
·       พิจารณาให้ออกจากงาน
·       เพื่อตรวจสอบ และ ปรับมาตรฐานการทำงาน
·       เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน
·       เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง
·       เพื่อพัฒนาบุคคล
 ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
·       ประเมินผลสำเร็จของงาน
·       พฤติกรรมในการทำงาน
·       ความรู้ในการทำงาน
·       ศักยภาพของพนักงาน

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับพนักงาน

·       ได้ทราบว่าผลงานของตนเองเป็นไปตามเกณฑ์ของบริษัทหรือไม่
·       มีความพึงพอใจในระบบประเมินที่เป็นธรรม
·       ทราบแนวทางในการพัฒนาความสามารถ และแนวทางที่จะเจริญก้าวหน้าต่อๆ ไปในบริษัท
·       ได้ทราบเป้าหมายและแผนงานที่จะต้องทำ

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับหัวหน้า

·       ได้ทราบว่าลูกน้องของตนเองมีขีดความสามารถ มากน้อยเพียงใด
·       ใช้ระบบประเมินที่เป็นธรรมดึงดูดให้ลูกน้องอยู่กับบริษัท
·       ช่วยให้วางแนวทางในการพัฒนาความสามารถ และแนวทางที่จะเจริญก้าวหน้าต่อๆ ไปในบริษัทของลูกน้องได้ชัดเจน และมีข้อมูลที่ต่อเนื่อง
·       บอกเป้าหมายและแผนงานที่จะต้องทำ
·       ฝึกทักษะการจูงใจและให้คำปรึกษาลูกน้อง

เมื่อผลการประเมินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรมีการแจ้งผลการประเมินให้กับผู้รับการประเมินทราบ เป็นรายบุคคลเพื่อให้ได้เกิดการปรับปรุงแก้ไข  โดยผู้บังคับบัญชาควรจะต้องให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขที่มีประสิทธิภาพต่อไป
          โดยการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงสุด จะต้องคำนึงถึงสมการดังนี้
                    ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน = ความสามารถ X แรงจูงใจ
  
การพัฒนาบุคลากร (Development)
          คือ กิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างให้บุคลากรในองค์การ ได้เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น  ผ่านการฝึกอบรมและการพัฒนา  การพัฒนาองค์กร  และการพัฒนาวิชาชีพ
 องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace)
          การที่สามารถทำให้คนทุกคนในองค์กรมีความสุขในการทำงานได้ ย่อมจะทำให้องค์กรนั้น เป็นที่ที่ทุกคนอยากอยู่ อยากทำงานด้วย และสามารถนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรได้ในอนาคต ซึ่งการจะทำให้องค์กร เป็นองค์กรแห่งความสุขได้ มี  8’s Happy ดังนี้
1.       Happy Body  การมีสุขภาพดี
2.      Happy Heart  การมีน้ำใจงาม
3.      Happy Soul  การมีความสงบนิ่ง
4.      Happy Relax  รู้จักผ่อนคลาย
5.      Happy Brain  มีความรู้ที่ดี มั่นศึกษาหาความรู้
6.      Happy Money  ปลอดหนี้
7.      Happy Family  มีครอบครัวที่ดี รักครอบครัว
8.      Happy Society  มีสังคมที่ดี
 ที่มา คู่มือความสุข 8 ประการในการทำงาน Happy Workplace,
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

“ความสุขในการทำงาน เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคล ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงานหรือ ประสบการณ์ของบุคคลในการทำงาน ประกอบด้วย  ความรื่นรมย์ในงาน  ความพึงพอใจในงาน และความกระตือรือร้นในการทำงาน”
Warr (นักจิตวิทยา)

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)

การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)
          เป็นการวางแผนและปรับใช้แนวทางปฏิบัติและระบบขององค์กรในอันที่จะบริหารจัดการคนในองค์กรเพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบสูงสุดจากความหลากหลาย และเพื่อลดข้อเสียเปรียบอันเกิดจากความหลากหลายให้เหลือน้อยที่สุด
          การที่มีความหลากหลายทำให้เกิด ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในองค์กรยุคปัจจุบันนั้น ก็เพราะว่าการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ประสบผลสำเร็จคือ ความสามารถในการปรับตัว และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์  เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยความแตกต่างหลากหลายในองค์การ  ที่ทำให้แต่ละองค์การมีความแตกต่างกัน
1.       อายุของบุคลากรที่ต่างวัย (Generation)  สามารถแบ่งได้ ตามรุ่นอายุดังนี้
·       Baby Boomers 
อายุ 46-62 ปี อยู่ในช่วงวางแผนปลดระวาง ดีดตัวเองออกจากงานง่าย ปัจจุบันเป็นคนกลุ่มใหญ่
ของโลก
·       Generation X 
อายุ 32-45 ปี  ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการ  ให้ความสำคํยกับเรื่องความสมดุลระหว่าง
งานและครอบครัว  มีลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร  มีความคิดเปิดกว้าง
·       Generation Y
อายุ 16-31 ปี  ก้าวเข้ามาสู่วัยทำงาน  เกิดมาพร้อมกับความสงสัย  เกิดมาพร้อมความเพียบ
พร้อมและความสับสน
·       Generation Z
อายุ 14 ลงมา  สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องคิด เป็นวัยที่ นักการตลาด ชอบมาก
2.      ความแตกต่างทางเพศ
3.      สถาบันการศึกษา สถาบันนิยม
4.      ความเป็นภูมิภาคนิยม จังหวัดนิยม พูดภาษาเดียวกัน คนบ้านเดียวกัน
5.      ธรรมชาติของพนักงานที่ทำงานด้วยกันนั้นจะจับกลุ่มก้อนกันก๊กก๊วน ลูกหม้อ คนเก่าคนแก่
6.      บริษัทลงทุนต่างชาติ  ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา นำไปสู่ความขัดแย้ง
7.      การจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน
8.      ลักษณะของกลุ่มอาชีพ อัตตาสูง เช่น แพทย์ วิศวกร นักวิชาการ
9.      รูปแบบการจ้างงานพนักงานที่ต่างกัน แต่ทำงานในหน่วยเดียวกัน เช่น ข้าราชการ พนักงาน  อาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ถึงความแตกต่าง
10.   โครงสร้างขององค์การที่มีการเปลี่ยนแปลง
11.    ความแตกต่างของพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และไม่เป็นสมาชิก อาจไม่ไว้วางใจกัน
12.   ลักษณะของหน่วยงานที่พนักงานมีความขัดแย้ง แข่งขันกันเอง กลายเป็นปัญหาการเมืองภายใน แบ่งพรรคแบ่งพวก
13.   กลุ่มพนักงานที่มีความแตกต่างกันทางด้านฐานะ ตระกูล ค่านิยม รสนิยม
14.   ด้านลักษณะการทำงาน หรือฐานะตำแหน่งรายได้ที่แตกต่างกัน เช่น เจ้าหน้าที่-อาจารย์
15.   พนักงานที่มีสุขภาพร่างกายปกติ หรือพิการ นำไปสู่ความไม่เสมอภาค

Competency (สมรรถนะหลัก) ที่มีความจำเป็นสำหรับการบริหารความหลากหลาย มีดังนี้
·       การจัดการความเปลี่ยนแปลง (Change Management)
·       การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)
·       การสร้างความไว้ใจ (Building Trust)
·       การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
·       การฟังและการซักถาม (Listening and Query)
·       ทักษะความร่วมมือช่วยเหลือ (Collaboration Skills)
 กลยุทธ์บริหารจัดการด้านความหลากหลายของพนักงาน (Workforce Diversity)
          ความหลากหลายของพนักงานมีผลต่อความสำเร็จ หรือกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานก็ได้ จำเป็นที่องค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่ดี หากละเลยไม่ดำเนินการใดๆ จะกลายเป็นปัญหาด้านการบริหารคน เกิดความแตกแยก ขัดแย้งหรือบ่อนทำลายกันเองอย่างแน่นอน

การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของการบริหารความหลากหลายในทางปฏิบัติ เป็นดังนี้
1.       ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ของความหลายหลาย มีความยึดมั่นผูกพันสูงกับความหลากหลาย สื่อสารไป   ทั่วทั้งองค์กร
2.      นำความหลายหลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ขององค์กร แผนงานการพัฒนาบุคลากรซึ่งต้องสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันด้วย
3.      เชื่อมโยงความหลากหลายมาสู่ผลการปฏิบัติงาน โดยทำความเข้าใจความหลากหลายและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สามารถจะขยายผลผลิตและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
4.      มีการวัดผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่มีผลกระทบกับความผันแปรของโครงการ แผนงาน ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย
5.      ผู้นำมีความแน่วแน่และแสดงความรับผิดขอบในความหลากหลาย เชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและผลตอบแทนที่นำไปสู่ความก้าวหน้าของการบริหารความหลากหลาย
6.      มีกระบวนการเชิงกลยุทธ์สำหรับระบุและพัฒนาความหลากหลายของคนเก่ง คนดีให้มีศักยภาพเป็นผู้นำองค์การในอนาคต
7.      มีกระบวนการของการดึงดูดผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลากหลาย
8.      ให้การสนับสนุนบุคลากรทุกระดับในการขับเคลื่อนความหลากหลายทั้งองค์การ โดยทุกคนเท่าเทียมกัน
9.      การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรต้องมุ่งเน้นความหลากหลายในองค์การ
10.   มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เชื่อมโยงเรื่องความสุขในการทำงานให้กับทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มเพศ เป็นต้น
 กลยุทธ์การบริหารความหลากหลายของคน
          สิ่งที่ฝ่ายบริหารจะต้องยึดถือเป็นหลักในการบริหารเพื่อ ยุติ ลด ป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาความแตกต่างที่หลากหลายคือ
1.       การผสมกลมกลืน
2.      การแสวงหาจุดร่วม สงวนความแตกต่าง (แตกต่างแต่ไม่แตกแยก)
3.      การแบ่งแยกและปกครอง (กระจายการปกครอง ตามหน่วยงานต่างๆ)

เทคนิคที่นำมาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความหลากหลาย

1.  การวิเคราะห์องค์การ (SWOT Analysis)
2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การทำงานเป็นทีม ระบบพี่เลี้ยง
3.  การสื่อสารอธิบายให้เข้าใจร่วมกัน
4.  การฝึกอบรม เช่น ทัศนคติเชิงบวก การคิดเชิงรุก
5.  การปรับปรุงสภาพการจ้าง หรือ สิทธิประโยชน์ (คำนึงถึง WIN WIN)
6.  การปรับปรุงสถานที่ทำงานหรือสำนักงาน ทำให้คนอยากมาทำงานมากขึ้น


วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบริหารจัดการบุคลากรเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ

การบริหารจัดการบุคลากรเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ

          ความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร ได้มาจากการทำงานที่มี คุณภาพ(Quality) ประสิทธิภาพ(Efficiency) และมีความประหยัด(Cost) และต้องสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยจะต้องมีความดีกว่า(Better) เร็วกว่า(Faster) และเหมาะสมกว่า(Cheaper)

ความสำเร็จขององค์กรจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้ คือ

1.       การมีเทคโนโลยี (Technology) ที่ดีทันสมัย สอดคล้องกับการดำเนินงานและกลยุทธ์ขององค์กร
2.      การมีระบบ (System) ที่ดีมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยในการดำเนินงานและการประสานงานทั้งภายในและภายนอกอย่างราบรื่นไม่ติดขัด
3.      การมีบุคลากร หรือ คน (Human) ที่มีคุณภาพ มีลักษณะที่เหมาะสมกับองค์กร มีความรู้และความสามารถในงานที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี

องค์กรต้องการได้คน อยู่ 2 ประเภท คือ มีความเป็นมืออาชีพ (Professional) กล่าวคือ สามารถป้องกันความเสี่ยงขององค์การจากการทำงาน พร้อมทั้งยังคอยสร้างโอกาสในการเจริญเติบโตขององค์การ และมีความรู้สึกเป็นหุ้นส่วน (Partner) นั่นคือมีความสำนึกที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ทุ่มเทให้แก่องค์กร และปกป้องผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่องค์กรอยู่เสมอ
          ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน การบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์การ(Organization Risk Management) เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ โดยความเสี่ยงต่างๆ หากมีองค์กรสามารถบริหารจัดการบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพแล้ว จะสามารถส่งผลต่อระบบการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ สร้างความสามารถในการขับเคลื่อนองค์กรได้ต่อไปในอนาคต

สาเหตุความล้มเหลว 9 ประการขององค์กร

1.       การบริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง
2.      ใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการ (Management Tools) โดยไม่เข้าใจ
3.      กำหนดกลยุทธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง
4.      ไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร
5.      ตอบสนองลูกค้าไม่ได้
6.      การปฏิบัติการหรือกระบวนการล้มเหลว      
7.      พัฒนาบุคลากรโดยไร้ทิศทาง
8.      รักษาบุคลากรที่ดีไว้ไม่ได้
9.      ภาวะผู้นำล้มเหลว
 ภาวะผู้นำ
ความยั่งยืนหรือเสื่อมสลายขององค์กรอยู่ที่ผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญ  โดยที่ผู้นำมีทั้งอำนาจและหน้าที่  อำนาจได้มาจาก สถานะทางสังคม หรือการครอบครองธุรกิจ หรือเป็นผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้ง  วิธีการใช้อำนาจอย่างมีประสิทธิภาพต่างหากที่แสดงถึงภาวะผู้นำ อำนาจที่มีอาจทำให้เรียกว่า เจ้านาย แต่หากไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่มาพร้อมกันด้วยแล้ว ก็ไม่อาจเป็นผู้นำที่ดีได้
          ผู้นำ ไม่ว่าระดับใดมีความสำคัญทั้งสิ้น  หากผู้นำดีย่อมมีโอกาสนำองค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีๆ หากผู้นำไม่ดีก็ย่อมมีโอกาสที่จะนำไปสู่ความวิบัติได้ไม่มากก็น้อย
 การนำองค์กร
          เป็นกระบวนการสร้างองค์กรใหม่ หรือปรับเปลี่ยนองค์กรเดิมเพื่อรับกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่แทบตลอดเวลา  โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1.       กำหนดทิศทาง (Establishing Direction)
ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์ด้วยการมองให้สูง มองให้ไกลไปยังอนาคต กำหนดทิศทางและ
กลยุทธ์ เพื่อความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ

2.      ให้คนในองค์กรมีส่วนร่วม (Aligning People)
ด้วยการสื่อสาร ถ่ายทอดทิศทางให้คนในองค์กรเกิดความเข้าใจ ยอมรับ ร่วมกันปฏิบัติ 
เป็นตัวอย่างในการส่งเสริม ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน พัฒนาทักษะความรู้ และลดการแบ่งขอบเขตระหว่างพนักงาน

3.      กระตุ้นการสร้างแรงบันดาลใจ (Motivating and Inspiring Them)
ผู้นำต้องเปลี่ยนทัศนคติ ไม่แบ่งชนชั้น วางตัวเสมือนผู้รับใช้ สนับสนุนพนักงานในทุกๆ
ด้าน เปิดใจรับฟังความคิดเห็น สร้างสรรค์พลังให้เป็นหนึ่งเดียว

4.      สร้างการเปลี่ยนแปลง (Producing Change)
เป็นผลลัพธ์สำคัญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่ความสำเร็จที่คาดหวังไว้

การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นเพียงหนทางเดียวในการจูงใจโน้มน้าวผู้อื่น
Albert Einstein