การบริหารจัดการบุคลากรเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ
ความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร ได้มาจากการทำงานที่มี คุณภาพ(Quality) ประสิทธิภาพ(Efficiency) และมีความประหยัด(Cost) และต้องสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยจะต้องมีความดีกว่า(Better) เร็วกว่า(Faster) และเหมาะสมกว่า(Cheaper)
ความสำเร็จขององค์กรจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้ คือ
1. การมีเทคโนโลยี (Technology) ที่ดีทันสมัย สอดคล้องกับการดำเนินงานและกลยุทธ์ขององค์กร
2. การมีระบบ (System) ที่ดีมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยในการดำเนินงานและการประสานงานทั้งภายในและภายนอกอย่างราบรื่นไม่ติดขัด
3. การมีบุคลากร หรือ คน (Human) ที่มีคุณภาพ มีลักษณะที่เหมาะสมกับองค์กร มีความรู้และความสามารถในงานที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี
องค์กรต้องการได้คน อยู่ 2 ประเภท คือ มีความเป็นมืออาชีพ (Professional) กล่าวคือ สามารถป้องกันความเสี่ยงขององค์การจากการทำงาน พร้อมทั้งยังคอยสร้างโอกาสในการเจริญเติบโตขององค์การ และมีความรู้สึกเป็นหุ้นส่วน (Partner) นั่นคือมีความสำนึกที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ทุ่มเทให้แก่องค์กร และปกป้องผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่องค์กรอยู่เสมอ
ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน การบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์การ(Organization Risk Management) เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ โดยความเสี่ยงต่างๆ หากมีองค์กรสามารถบริหารจัดการบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพแล้ว จะสามารถส่งผลต่อระบบการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ สร้างความสามารถในการขับเคลื่อนองค์กรได้ต่อไปในอนาคต
สาเหตุความล้มเหลว 9 ประการขององค์กร
1. การบริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง
2. ใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการ (Management Tools) โดยไม่เข้าใจ
3. กำหนดกลยุทธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง
4. ไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร
5. ตอบสนองลูกค้าไม่ได้
6. การปฏิบัติการหรือกระบวนการล้มเหลว
7. พัฒนาบุคลากรโดยไร้ทิศทาง
8. รักษาบุคลากรที่ดีไว้ไม่ได้
9. ภาวะผู้นำล้มเหลว
ความยั่งยืนหรือเสื่อมสลายขององค์กรอยู่ที่ผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญ โดยที่ผู้นำมีทั้งอำนาจและหน้าที่ อำนาจได้มาจาก สถานะทางสังคม หรือการครอบครองธุรกิจ หรือเป็นผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้ง วิธีการใช้อำนาจอย่างมีประสิทธิภาพต่างหากที่แสดงถึงภาวะผู้นำ อำนาจที่มีอาจทำให้เรียกว่า เจ้านาย แต่หากไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่มาพร้อมกันด้วยแล้ว ก็ไม่อาจเป็นผู้นำที่ดีได้
ผู้นำ ไม่ว่าระดับใดมีความสำคัญทั้งสิ้น หากผู้นำดีย่อมมีโอกาสนำองค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีๆ หากผู้นำไม่ดีก็ย่อมมีโอกาสที่จะนำไปสู่ความวิบัติได้ไม่มากก็น้อย
เป็นกระบวนการสร้างองค์กรใหม่ หรือปรับเปลี่ยนองค์กรเดิมเพื่อรับกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่แทบตลอดเวลา โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดทิศทาง (Establishing Direction)
ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์ด้วยการมองให้สูง มองให้ไกลไปยังอนาคต กำหนดทิศทางและ
กลยุทธ์ เพื่อความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ
2. ให้คนในองค์กรมีส่วนร่วม (Aligning People)
ด้วยการสื่อสาร ถ่ายทอดทิศทางให้คนในองค์กรเกิดความเข้าใจ ยอมรับ ร่วมกันปฏิบัติ
เป็นตัวอย่างในการส่งเสริม ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน พัฒนาทักษะความรู้ และลดการแบ่งขอบเขตระหว่างพนักงาน
3. กระตุ้นการสร้างแรงบันดาลใจ (Motivating and Inspiring Them)
ผู้นำต้องเปลี่ยนทัศนคติ ไม่แบ่งชนชั้น วางตัวเสมือนผู้รับใช้ สนับสนุนพนักงานในทุกๆ
ด้าน เปิดใจรับฟังความคิดเห็น สร้างสรรค์พลังให้เป็นหนึ่งเดียว
4. สร้างการเปลี่ยนแปลง (Producing Change)
เป็นผลลัพธ์สำคัญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่ความสำเร็จที่คาดหวังไว้
“การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นเพียงหนทางเดียวในการจูงใจโน้มน้าวผู้อื่น”
Albert Einstein
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น