Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การบัญชีแบบลีน (Lean Accounting)

สวัสดีครับ  ตามสัญญาที่ให้ไว้  หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Lean Management มาบ้างแล้วจากบทความก่อนที่ได้นำเสนอไป  วันนี้จะขอนำเสนอ  "การบัญชีแบบลีน  (Lean Accounting)"


ความหมายของการบัญชีแบบลีน
       การบัญชีแบบลีนเป็นการทำบัญชีตามหลักแนวคิดของลีน   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีต้นทุน  โดยการเปลี่ยนจากการบัญชีต้นทุนแบบเดิมเป็นแนวคิดของลีน  เพื่อนำระบบบัญชีไปใช้กับระบบการจัดการและการผลิตตามแนวคิดของลีนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
       โดยจะต้องเข้าใจแนวคิดแบบลีนก่อน  และต้องปรับปรุงการปฏิบัติงานทางบัญชีให้ทันกับการให้ผลิตและการให้บริการ  ซึ่งการใช้วิธีต้นทุนแบบเดิมที่ใช้ในการวัดผลนั้นมี ข้อบกพร่อง  3 ประการคือ
  1. ระยะเวลาในการออกรายงานซึ่งออกรายงานทุกๆ สิ้นเดือนนั้นช้าเกินไป
  2. รูปแบบของรายงานเป็นรูปแบบรายงานทางการเงิน ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ เพื่อปรับปรุง       ในระดับย่อย
  3. รูปแบบรายงานค่อนข้างซับซ้อน เข้าใจยาก
หลักการของการบัญชีแบบลีน  มีหลักการและวิสัยทัศน์ที่สำคัญ ดังนี้
  1. เพื่อที่จะช่วยให้เกิดความถูกต้อง  ทันเวลา และเข้าใจในข้อมูลการดำเนินงานของระบบการผลิตแบบลีนที่องค์กรนำมาใช้และเพื่อการตัดสินใจในเรื่องอื่นๆ   เช่น  กระแสเงินสด  ความสามารถในการทำกำไร  การเติบโตขององค์กร  ความพึงพอใจของลูกค้า  เป็นต้น
  2. การใช้เครื่องมือของแนวคิดแบบลีนมาช่วยลดการสูญเสียขององค์กรจากการกระทำที่ไม่เกิดคุณค่าต่อสินค้าและบริการ  ในขณะที่ยังคงควบคุมการดำเนินงานด้านการเงินอยู่
  3. สนับสนุนและผลักดันให้ระบบลีนและระบบการบัญชีแบบลีนเข้าไปมีส่วนในการพัฒนาการปฏิบัติงานภายในองค์กร
หลักการสำคัญ ในการปฏิบัติ มี 5 ประการดังนี้
  1. ลีนและการบัญชีธุรกิจอย่างง่าย
          นำแนวความคิดลีน มาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านบัญชี  เพื่อลดการความสูญเสียในกระบวนการปฏิบัติงานทางบัญชี  การรายงานและวิธีการทางการบัญชีอื่นๆ ขององค์กร  โดยอาจใช้เครื่องมือ  แผนที่กระแสคุณค่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแบบลีนและแนวทางการปรับปรุงด้วยวงจรคุณภาพ PDCA

     2.  กระบวนการทางบัญชีช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ลีน
         รายงานและวิธีการทางการบัญชีแบบลีน เกิดขึ้นได้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Flow) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงความซ้ำซ้อนต่างๆ อันเกิดมาจากความเคยชินในการปฏิบัติงานของเราเอง

     3.  การสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจนและทันเวลา
         นอกจากการปรับปรุงกระบวนการทำงานแล้ว  การสื่อสารกับผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้องในแผนก และองค์กร ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การกระตุ้นให้เกิดการมีความคิด  รับผิดชอบ  และมีความคิดสร้างสรรค์ ที่ไม่ได้เกิดจากการบังคับ  แต่เกิดจากการเปิดกว้างที่สนับสนุนให้เกิดการบริหารด้วยตนเอง  จากความเชื่อมั่นในศักยภาพของพนักงาน ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการบริหารจัดการแบบลีน   เพราะหากการ
สื่อสาร ดีแล้ว การทำงานย่อมไม่ติดขัดเป็นธรรมดา”

     4.  การวางแผนตลาด การดำเนินงาน และการเงิน
         การบัญชีแบบลีน  จะช่วยส่งผลให้ระบบรายงานทางการเงินต่างๆ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย รวมถึงการวางแผน
งบประมาณต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

     5.  การควบคุมภายในทางการบัญชีที่ดี
         การปรับปรุงกระบวนการทำงาน  (Flow)  ก่อให้เกิดการมองภาพเห็นถึงระบบงานต่าง ๆ รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน  ทำให้ง่ายต่อการมองเห็นช่องว่างที่เกิดขึ้น อันจะส่งผลต่อการกำหนดขั้นตอนการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ  ลดความเสี่ยงในความผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักการควบคุมภายในที่ดีได้


โดยสรุปแล้ว  “การบัญชีแบบลีน”  เป็นการค้นหา วิธีการในการลดขั้นตอนต่างๆ ในการทำงานด้านบัญชีลง  ไม่ว่าจะเป็นวิธีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Flow)  การปรับปรุงการสื่อสารข้อมูลกับผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนเข้าใจง่าย ไม่เสียเวลา   ทำให้ง่ายและก่อให้เกิดความรวดเร็วในการวิเคราะห์รายการทางบัญชี  นำไปสู่การบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง  และการออกงบการเงินที่ทันต่อความต้องการของผู้บริหารต่อไป......

อันนี้ขำ ๆ เอามาฝากให้ดูเล่น
























1 ความคิดเห็น:

  1. ขอฝากประชาสัมพันธ์นะค่ะ♥


    ศูนย์อบรมให้บริการด้านการอบรมพนักงาน และที่ปรึกษา www.bizinthai.com
    ติดตามได้ที่ www.facebook.com/LeanBIZ

    ตอบลบ