Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของธุรกิจ : ทำอย่างไรให้บริษัท มีผลกำไร? (2)

     จากบทความที่แล้วได้พูดถึงองค์ประกอบของธุรกิจที่ควรจะมี อยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 องค์ประกอบ
สำคัญด้วยกัน ซึ่งได้พูดไปแล้ว 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การบัญชี การเงิน และการบริหารการปฏิบัติ
การ มาดูอีก 3 องค์ประกอบที่เหลือกันครับ
4.     การบริหารการตลาด (Marketing Management)
เป้าหมายของการบริหารการตลาด ก็คือ การมุ่งเน้นในการสร้างความพึงพอใจสูงสุด
ของลูกค้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำ หรือใช้ซ้ำ   พร้อมทั้งการสร้างความภักดีในสินค้าขององค์กร
          โดยมีส่วนประสมทางการตลาดขั้นพื้นฐานที่สำคัญ (Marketing Mix) อยู่ด้วยกัน 4 อย่าง (4P’s) ได้แก่
·       สินค้า (Product)
·       ราคา (Price)
·       ช่องทางการจำหน่าย (Place)
·       การส่งเสริมการขาย (Promotion)
นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนประสมทางการตลาดบริการ (Services Marketing Mix) มี
องค์ประกอบเพิ่มเติม จาก 4P’s ได้แก่
·       ลักษณะทางกายภาพที่สามารถสัมผัสได้ (Physical Evidence)
·       กระบวนการในการให้บริการ (Process)
·       บุคลากร (People)
โดยรวมทำให้ได้องค์ประกอบของส่วนประสมที่เรียกว่า 7P’s ซึ่งมีความสำคัญมากใน
การบริหารจัดการการตลาดขององค์กรธุรกิจให้บริการ ให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยทุกๆ องค์ประกอบจะต้องขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างเหมาะสมลงตัว

5.     การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) และการจัดการพฤติกรรมองค์กร (Organizational Behavior)
มีพัฒนาการมาจาก การจัดการคน (Personnel Management) ไปสู่ การบริหาร
ความสัมพันธ์ของมนุษย์(Human Relations) ไปสู่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)  และเกิดขึ้นเป็น การวางแผนกลยุทธ์ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Strategic Human Resource Management)
       การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญมากในองค์กร เนื่องจากการบริหารจัดการดูแลให้บุคลากร สามารถทำงานให้กับองค์กร อย่างมีความสุข ทุ่มเท และรักองค์กร จนเสมือนหนึ่งว่าองค์กรเป็นเหมือนครอบครัว และบ้านของตน จะทำให้สามารถเกิดแรงขับเคลื่อนในกระบวนการทำงาน ได้อย่างลงตัว และมีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่องค์กรวางแผนไว้
แม้กระทั่ง ในองค์ประกอบของการบริหารจัดการ ยังต้องมีเรื่องของการบริหารจัดการ
คน เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบ ซึ่งได้แก่การว่าด้วยเรื่องของการบรรจุคน (Staffing)  โดยองค์ประกอบของการบริหารจัดการประกอบไปด้วย
·       การวางแผน (Planning)
·       การจัดการระบบงาน (Organizing)
·       การบรรจุคน (Staffing)
·       การชี้นำ (Directing)
·       การประเมินตรวจสอบ (Controlling)
 องค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Functions) ประกอบ
ไปด้วย
·       การสรรหา (Recruit)
·       การบรรจุแต่งตั้ง (Staffing)
·       การให้ค่าตอบแทน (Compensating)
·       การวัดผลและประเมินผล (Appraisal)
·       การอบรม (Training)
·       การพัฒนา (Development)
·       การสอนงาน (Coaching)
·       การมีระบบพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการทำงาน (Mentoring)

การจัดการพฤติกรรมองค์กร (Organizational Behavior)
          คือการเข้าใจถึง พฤติกรรมของคนภายในองค์กร และพฤติกรรมที่พึงมีขององค์กร เพื่อให้คนที่อยู่ในองค์กร สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และเกิดปัญหาต่างๆ ในองค์กรให้น้อยที่สุด หรือเรียกสั้นๆ ว่า วัฒนธรรมองค์กรนั่นเอง  การสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กรที่ดี ย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีในการทำงานร่วมกันของคนทำงานทุกคนในองค์กร  โดยมีสิ่งที่ต้องศึกษามากมายในองค์กร เกี่ยวกับพฤติกรรมองค์กร อาทิเช่น
·       ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร (Organizational Commitment)
·       คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
·       ความฝังตรึงในงาน (Job Embeddedness)
·       ขวัญและกำลังใจ (Morale)
·       ความพึงพอใจในงาน (Job satisfaction)
·       ความลงตัวของสัญญาใจ (Psychological Contract Alignment)
·       ผลการปฏิบัติงาน (Employee Performance)
·       การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องขององค์กร (Continuous Organizational Learning)
·       ประสิทธิผลของทีม (Team Effectiveness)
·       การออกแบบองค์กร และงาน (Organizational Design and Job Design)
·       ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมองค์กร (Organizational Creativity and Innovation)
  
6.  Strategic Management (การบริหารเชิงกลยุทธ์)
ความสำคัญของสร้างกลยุทธ์ ก็เพื่อเป็นหลักประกันในการสร้างความสามารถในการ
ทำกำไรในอนาคตที่เหนือกว่า  (Profitability)
          โดยการบริหารเชิงกลยุทธ์มีความแตกต่างกันในหลายมุมมองดังนี้
·       Classic View (มุมมองแบบดั้งเดิม) มีการมองการวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการ อิงตามทฤษฏีแล้วนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
·  Environmental-Driven View (มองว่าการขับเคลื่อนกลยุทธ์ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมกลยุทธ์ที่ใช้กับความสามารถที่ดีต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
·      Competitive-Oriented View (มองกลยุทธ์ว่าขึ้นอยู่กับธรรมชาติของการแข่งขันของอุตสาหกรรมนั้นๆ) พิจารณาองค์ประกอบต่างๆในองค์กรเสมอว่า เราจะแข่งกับคนอื่นอย่างไร
·     Resources-Based View (มองกลยุทธ์ว่าขึ้นอยู่กับความสามารถภายในองค์กร) กำไรที่เหนือกว่าผู้อื่นขึ้นอยู่กับเราเหนือกว่าผู้อื่น
·       Value-Driven View (มองกลยุทธ์ว่าขึ้นอยู่กับความต้องการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้บริโภคด้วยกระบวนการค้นหาคุณค่า และการใช้แผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map) รวมถึงการใช้ Balance Scorecard (คือเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารที่ว่าด้วยความสมดุลขององค์กร ผ่านมุมมอง 4 ด้านได้แก่ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และด้านการเงิน)

สรุป
องค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ประกอบไปด้วย
1.  การบัญชี (Accounting)  มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานขององค์กร  โดยมีปัจจัยหลักคือการบันทึกและรายงานประวัติศาสตร์ของการบริหารธุรกิจขององค์กร
2.   การบริหารการเงิน (Financial Management)  เพื่อใช้ในการตรวจสอบสุขภาพและวินัยทางการเงินขององค์กร  ไม่ว่าจะเป็นสถานะการเงิน  การตัดสินใจประกอบการลงทุน  การค้นหาต้นทุนเงินทุนที่ต่ำที่สุด  และการบริหารจัดการความเสี่ยง
3.      การบริหารการปฏิบัติการ (Production and Operations Management) หรืออีกนัยหนึ่งก็หมายความถึงการผลิตและการบริการ  ว่าด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ขายสิ่งที่ผลิตได้ให้มากที่สุด มีปัจจัยหลักคือรักษาต้นทุนให้ต่ำ มุ่งเน้นผลิตภาพและคุณภาพในการผลิตและบริการ
4.    การบริหารการตลาด (Marketing Management) มีหน้าที่บอกองค์กรว่า จะแข่งขันกับคู่แข่งอย่างไร จะขายสินค้าหรือบริการได้อย่างไร มีปัจจัยหลักคือ การสร้างความจงรักภักดีในตัวสินค้า รวมถึงการสร้างความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการของเราให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ให้ตัดสินใจมาใช้สินค้าและบริการของเรา
5. การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการพฤติกรรมองค์การ (Human Resource Management and Organizational Behavior) เป็นการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องไปกับความต้องการของกลยุทธ์ในการดำเนินงาน
6. การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสร้างความยั่งยืนของประสิทธิผลทางการบริหารที่ดี สภาพแวดล้อมที่พอดี  สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  การแสวงหาการสร้างคุณค่าในการให้บริการ  และการจัดเก็บคุณค่าที่ทำได้ให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน


เผยแพร่องค์ความรู้จากการอบรม CMU Hospital Management รุ่นที่ 1 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น