Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดของสารสนเทศ และระบบสารสนเทศ

ความหมายของ ข้อมูล (Data), สารสนเทศ (Information) และองค์ความรู้(Knowledge)

ข้อมูล (Data)
          หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร ก่อนที่จะมีการจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่คนเข้าใจหรือสามารถนำไปใช้งานได้

สารสนเทศ (Information)
          หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลและการจัดการแล้วให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายหรือเป็นประโยชน์ต่อคนหรือองค์กร

องค์ความรู้ (Knowledge)
          หมายถึง การรับรู้ ความเข้าใจในสารสนเทศนั้น และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้

ความหมายของระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information System and Information Technology)
ระบบสารสนเทศ (Information System)
          หมายถึง ส่วนประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ในการนำมาใช้จัดเก็บ ประมวลผล เก็บไว้ในแฟ้ม และกระจายสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การประสานงาน การควบคุม และการวิเคราะห์
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
          หมายถึง เครื่องมือหรือเทคนิคที่ใช้สนับสนุนการออกแบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม และระบบรับ-ให้บริการ หรือเรียกใหม่ว่า Information and Communication Technology : ICT

ประโยชน์และคุณค่าของสารสนเทศ
ด้านการจัดการ
·       ช่วยให้ฝ่ายบริหารดำเนินการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่นสารสนเทศด้านเศรษฐกิจ การแข่งขัน การเงิน เป็นต้น
·       ช่วยในการสร้างกลยุทธ์ให้องค์กร
ด้านการปฏิบัติงาน
·       ช่วยในด้านการติดตามข้อมูลเพื่อการปฏิบัติงาน เช่น การผลิต การตลาด การบัญชี เป็นต้น
ด้านการบันทึกข้อมูลในอดีต
·       ช่วยให้ข้อมูลในการเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตในช่วงต่างๆ เพื่อการตัดสินใจหรือการปรับปรุง
ด้านกฎหมาย
·       ช่วยเป็นหลักฐานทางกฎหมาย

ระบบสารสนเทศที่สำคัญที่นำมาใช้ในองค์กร
·       Transaction Processing Systems (TPS)/Enterprise Systems/Functional Information Systems
·       Management Information Systems (MIS)
·       Decision Support Systems (DSS)
·       Executive Support Systems (ESS) – Business intelligence Systems (BI)
·       Knowledge Management Systems (KMS)
·       Office Systems/Automation

Transaction Processing Systems (TPS)
          คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เข้ามาประมวลผลเบื้องต้น แล้วเก็บไว้เป็นข้อมูลของธุรกิจ เช่น ระบบ Point of Sales (ระบบขายหน้าร้าน) ของ supermarket ต่างๆ

Management Information Systems (MIS)
          คือ ระบบการจัดทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ ส่วนใหญ่เป็นรายงานสรุปการปฏิบัติงานต่างๆ (Summary report)
 Decision Support Systems (DSS)
          คือ ระบบที่ประกอบด้วยข้อมูล เครื่องมือ และต้นแบบ ที่ช่วยในการตัดสินใจแบบกึ่งมีรูปแบบ (เป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นเป็นประจำ มีกฎระเบียบที่แน่นอน เช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบประจำสัปดาห์) และไม่มีรูปแบบ (เป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ในสถานการณ์ที่ผิดปกติ นำเสนอตัวเลขเพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น) โดยใช้ข้อมูลที่มาจากภายในองค์กร คือจากระบบ TPS และจากภายนอกองค์กร เช่น ตลาดหุ้น คู่แข่ง มาช่วยในการตัดสินใจ อาศัยต้นแบบมาประมวลผลข้อมูล เพื่อเสนอแนะต่อผู้ใช้งานในการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง
          ระบบจะทำการเปรียบเทียบทางเลือกแต่ละอย่าง ตามต้นแบบของข้อมูลที่ต้องการ
 Executive Support Systems (ESS)
          คือ ระบบที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ส่วนใหญ่เป็นการตัดสินใจแบบที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาประกอบ มีการนำเสนอการทำงานในรูปแบบของเมนู และการประสานงานกับผู้ใช้ด้วยรูปภาพ

Business Intelligence : BI หรือระบบสมองกลอัจฉริยะทางธุรกิจ
          คือ สารสนเทศที่ได้รับการกลั่นกรองมาจากที่รวมข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติคือดาต้าแวร์เฮ้าส์ หรือ ฐานข้อมูลแบบออนไลน์
          ระบบสมองกลอัจฉริยะทางธุรกิจ จะค้นพบรูปแบบ ความสัมพันธ์กันของข้อมูล แนวโน้ม และสารสนเทศอื่น เพื่อที่จะเพิ่มผลการดำเนินงานขององค์กร
ส่วนประกอบของโปรแกรม BI
1.       คลังข้อมูล (Datawarehouse)  เป็นการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ ในองค์กร (Database)
2.      การวิเคราะห์ธุรกิจ  ได้แก่โปรแกรมประเภท OLAP (Online Analytical Program) ต่างๆ เช่น data mining (การทำเหมืองข้อมูล) ที่จะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลมองข้อมูลได้จากหลายมุมมอง โดยการวิเคราะห์หารูปแบบ ความสัมพันธ์กันของข้อมูล แนวโน้ม  และนำเสนอในรูปแบบของกราฟ
3.      การบริหารติดตามความสามารถในการปฏิบัติงาน (Business Performance Management : BPM)
4.      การประสานงานกับผู้ใช้โปรแกรม ได้แก่ Browser, Dashboard

Knowledge Management Systems (KMS)  การจัดการองค์ความรู้
          เป็นระบบที่ช่วยองค์กรในการค้นหา คัดเลือก จัดการ กระจาย และส่งต่อสารสนเทศที่สำคัญหรือความเชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำขององค์กร
          มีเป้าหมายหลัก คือ ให้องค์กรตระหนักถึงองค์ความรู้ที่บุคคลหรือ องค์กรสั่งสมไว้ และสามารถใช้องค์ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้มากที่สุด
          KMS เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของ (ผู้ทำงานด้านการรวบรวมองค์ความรู้) knowledge workers เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
          โดยระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) เป็นระบบที่รวบรวมความรู้ และความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ มาเก็บไว้ในระบบ แล้วนำไปใช้ในการแนะนำผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

Office Automation System  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ  ได้แก่
·       ระบบช่วยการประมวลผลและจัดทำรายงาน
·       ระบบการสร้างเอกสาร เช่น Microsoft word
·       ระบบสื่อผสม (Multimedia) เช่น Scanner, CD-ROM
·       ระบบการประชุมกลุ่มหรือการทำงานกลุ่ม
·       ระบบการนัดพบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Calender)
·       การประชุมทางไกล (Tele conferencing)
·       กรุ๊ปแวร์ (Document Sharing)
·       อินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต

เรียบเรียงจาก เอกสารประกอบการอบรม CMU Executive Hospital Management รุ่นที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น