Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การอ่านกรณีศึกษา (Case Analysis)


กรณีศึกษาทางธุรกิจ (Business Case Studies) หมายถึง  คำบรรยายสถานการณ์จริงซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความท้าทาย โอกาส ปัญหา หรือประเด็นที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในองค์กรกำลังเผชิญอยู่
          โดยส่วนมากแล้ว ในการเรียนการสอนกรณีศึกษา เป็นเครื่องมือในการสอนแนวคิดทางบริหารขั้นสูง กรณีศึกษาถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดว่าต้องการจะสอนอะไรกับผู้เรียน โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ค้นพบด้วยตนเอง

โครงสร้างของกรณีศึกษา ประกอบไปด้วย
·       ประเด็นปัญหา ความสำเร็จของกิจการ
·       ประเด็นวิกฤติที่ต้องตัดสินใจ
·       ข้อมูลพรรณหาความเป็นมาของกิจการ
·       ข้อมูลของคู่แข่งและอุตสาหกรรม
·       ข้อมูลการบริหารและการดำเนินการของกิจการ
โดยไม่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมภายนอก ให้ใช้เฉพาะข้อมูลที่ให้มาเท่านั้น  โดยให้สมมุติว่า ถ้าเป็นผู้บริหารใน
เรื่องและมีข้อมูลเพียงเท่านั้นจะตัดสินใจอย่างไร

วิธีการอ่านกรณีศึกษา
1.       อ่านผ่านๆ อย่างรวดเร็ว 1 รอบเพื่อให้ได้องค์ความรู้กว้างๆ ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
2.      อ่านอย่างละเอียด หาความเชื่อมโยงของเรื่องราว ให้มีความหมายต่อการวิเคราะห์มากขึ้น แต่ยังไม่ต้องวิเคราะห์ในขั้นนี้ แต่ให้จับใจความให้ได้ว่า
·       ใครคือตัวละครเอก  มีบทบาทอย่างไร กำลังเผชิญปัญหาอะไร  ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง
·       กิจการทำธุรกิจอะไร  ใครคือลูกค้า  คู่แข่ง หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญของธุรกิจ
·       อย่ามองข้ามแผนภาพ ตาราง และหมายเหตุท้ายตาราง มองหาตัวเลข หรือเส้นกราฟที่สนับสนุน แย้งกับเนื้อเรื่อง หรือมีความแตกต่างในเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญ

การวิเคราะห์กรณีศึกษา
          ให้วิเคราะห์เบื้องต้นด้วยตนเองถึงสาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลวของสิ่งที่กิจการทำ คิดหาทางเลือกในการแก้ไขที่เป็นไปได้

สิ่งที่จะได้จากการเรียนด้วยกรณีศึกษา
1.       ได้เรียนรู้และสามารถต่อยอดนำไปประยุกต์ทฤษฏีเข้ากับการปฏิบัติจากประสบการณ์จริงของผู้ที่เคยทำ (พลาด/สำเร็จ) มาแล้ว
2.      เกิดทักษะในการตีความ ให้ลำดับความสำคัญอย่างเหมาะสมกับปัจจัยต่างๆ ภายใต้สถานการณ์นั้นๆ
3.      เกิดทักษะในการแก้ปัญหาและความกล้าตัดสินใจ
4.      เกิดทักษะในการสื่อสารความเห็น ข้อวินิจฉัย และการวิเคราะห์เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นตาม
5.      เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
6.      เกิดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติเอง

เรียบเรียงจากเอกสารประกอบการอบรม CMU Executive Hospital Management รุ่นที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น