Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้มการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจเพื่อสุขภาพ

โครงสร้างของการให้บริการทางด้านสุขภาพ แบ่งได้ดังนี้
1.       Funding Sources (ประเภทของแหล่งเงินทุนที่สำคัญ) ได้แก่
·       ระบบการประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค ของราชการ
·       กลุ่มของลูกจ้าง  ได้แก่
·       กลุ่มข้าราชการเบิกตรง
·       กลุ่มลูกจ้างสิทธิเบิกจ่ายกองทุนประกันสังคม
·       ลูกจ้างจ่ายเงินเอง แล้วนำใบเสร็จไปเบิกต่อ
·       ลูกจ้างใช้สิทธิประกันสุขภาพของบริษัทประกัน
2.      กลุ่มผู้ป่วยทั่วไป (Patients)
3.      กลุ่มผู้ให้บริการ (Providers)
·       โรงพยาบาลและคลีนิค (รวมที่เป็นส่วนบุคคลด้วย)
·       โรงพยาบาลในระดับประถมภูมิ (Primary) ได้แก่ สถานีอนามัยต่างๆ ชุมชนทั่วไป
·       โรงพยาบาลในระดับทุติยภูมิ (Secondary) ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์ทั่วไป
·       โรงพยาบาลในระดับตติยภูมิ (Tertiary) ได้แก่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลเอกชน
·       กลุ่มแพทย์ (Doctors)
 การพัฒนาธุรกิจเพื่อสุขภาพของโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
          มีความต้องการเป็นสุดยอดของโรงพยาบาลในภาคพื้นเอเชียให้ได้ภายใน 10 ปี ดังนั้นจึงได้มีการดำเนินการพัฒนาเพิ่มเติมดังนี้
1.       มีการสร้างอาคารใหม่ เพื่อขยายพื้นที่การให้บริการ
2.      มีการสรรหาและจ้างบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มเติม
3.      มุ่งเน้นในการอบรมและพัฒนาบุคลากร (ในส่วนนี้ ใช้เวลาค่อนข้างนาน และใช้งบประมาณไปมาก เพื่อให้บุคลากรทุกคนมีความตระหนักในการให้บริการผู้ป่วยให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด
4.      มีการใช้ระบบคุณภาพ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการให้มีความทันสมัย และมีมาตรฐานสากล อาทิเช่น  HA, ISO, JCI และ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) เป็นต้น

ปัจจัยที่ควรพัฒนาปรับปรุงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านบริการทางการแพทย์ สำหรับศูนย์ศรีพัฒน์ฯ
1.       การปรับปรุงสถานที่ การสร้างอาคารใหม่ เพื่อรองรับการเจริญเติบโต และเพื่อการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.      การจ้างแพทย์เพิ่ม เพื่อจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง ลดระยะเวลาการรอคอยให้น้อยที่สุด
3.      ลดอัตราการครองเตียง
4.      ให้บุคลากรภายนอกเข้าช่วยในการประเมิน เพื่อจะได้เห็นสิ่งที่ควรจะต้องพัฒนาปรับปรุงในมุมมองของผู้ตรวจประเมินต่างๆ
ที่มา : ศ.นพ.สิน  อนุราษฎร์
ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ กลุ่มโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
เอกสารประกอบการอบรม CMU Executive Hospita Management รุ่นที่ 1

สรุป
แนวโน้มการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจเพื่อสุขภาพ ให้มีความยั่งยืน จะต้องมีการทบทวนปัจจัยที่สำคัญต่างๆ
โดยเฉพาะโครงสร้างที่สำคัญของธุรกิจสุขภาพ  การมุ่งเน้นการให้บริการผู้ป่วยให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด  จะเกิดขึ้นได้หากองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาการให้บริการของบุคลากรขององค์กร ด้วยการฝึกอบรมและพัฒนาพฤติกรรมการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพราะในขณะที่มีการแข่งขันกันทางด้านราคาในการให้บริการแล้ว  สิ่งที่จะชนะใจลูกค้าและก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ ก็คือ การให้บริการที่ดี การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า  การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการให้บริการ รวมถึงคุณภาพในการให้การรักษาที่ดี อันจะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กรต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น